เว็บครูวิทย์ภูเก็ต53
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

สถานที่ใดแห้งแล้งที่สุดในโลก ???

     เพื่อนๆหลายคนอาจจะตอบว่า ทะเลทรายอะไรสักแห่งแน่ๆเลย แต่ความจริงแล้วนั้น ทวีปแอนตาร์กติกา ที่ขั้วโลกใต้ ที่แห้งแล้งที่สุดต่างหาก เพราะพื้นที่บางส่วนของทวีปแห่งนี้ไม่เคยมีฝนตกมาเป็นเวลา 2 ล้านปีมาแล้วววววววว......

     ในทางเทคนิดแล้ว คำจำกัดความของทะเลทรายคือ สถานที่ที่ได้รับน้ำฝนในปริมาณไม่ถึง 10นิ้วต่อปี

     ทะเลทรายซาฮาร่าซึ่งเป็นทะเลทรายแบบร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เล็กกว่าแบบหนาวอีก 2 อันดับคือ ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้นั่นเอง โดยซาฮาร่าจะรับน้ำฝนไม่ถึง 1นิ้วต่อปี

     ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของแอนตาร์กติกาก็ไม่ต่างออกไปสักเท่าไหร่ แต่ก็มีพื้นที่ 2%ของทวีปนี้ที่ปราศจากน้ำแข็งและหิมะ รวมั้งไม่มีฝนตกลงมาเลย พื้นที่บริเวนี้มีชื่อเรียกว่า หุบเขาแห้ง (Dry Vallay)

     สถานที่แห้งแล้งที่สุดในโลกอันดับรองลงมาคือ ทะเลทรายอะตากาม่าในประเทศชิลี ซึ่งบางพื้นที่ไม่มีฝนตกมานานกว่า 400ปีแล้ว และปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีน้อยกว่า 0.004นิ้ว ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทะเลทรายทั้งหมดแล้วมันจึงครองตำแหน่งทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลกไปโดยปริยายเรียกได้ว่าแห้งแล้งกว่าทะเลทรายซาฮาร่ามากถึง 250เท่าเลยทีเดียว

ที่มา : หนังสือ ลบเหลี่ยม ไอน์สไตน์

สวัสดีคร้าบบบบ วันนี้ กลับมาพบกับผมอีกแล้วนะครับ กับ 10 อันดับของเรื่องราวต่างๆๆๆมากมาย ไม่ได้ตั้งมานานตั้งเกือบวันและ เห็นไม่มีใครตั้งเลยมาตั้งซะเอง วันนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับ 10 อันดับทะเลทรายที่ใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลก !!! รับรองว่า ท่านจะต้องประหลาดใจแน่นอน จะมีทะเลทรายอะไรกันมั่ง เราไปชมกันเล้ย....

ตกลงกันก่อน....!!!

ในทางภูมิศาสตร์ ทะเลทราย คือภูมิประเทศหรืออาณาเขตที่ได้รับน้ำฝนน้อยมาก โดยทั่วไปแล้ว "ทะเลทราย" หมายถึง บริเวณที่ได้รับน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 250 มิลลิเมตร (10 นิ้ว)


10. ทะเลทรายเกรตเบซิน (Great Basin Desert)





ที่ตั้ง : ทางภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ทวีปอเมริกาเหนือ
พื้นที่รวมทั้งหมด : 492,000 ตารางกิโลเมตร (190,000 ตารางไมล์)


9. ทะเลทรายซีเรีย (Syrian Desert)





ที่ตั้ง : ในเขตประเทศซีเรีย อิรัก ซาอุดิอารเบีย จอร์แดน และส่วนหนึ่งของอิสราเอล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง
พื้นที่รวมทั้งหมด : 520,000 ตารางกิโลเมตร (200,000 ตารางไมล์)


8. ทะเลทรายเกรตวิคตอเรีย (Great Victoria Desert)





ที่ตั้ง : ออสเตรเลีย
พื้นที่รวมทั้งหมด : 647,000 ตารางกิโลเมตร (250,000 ตารางไมล์)
เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบอันว่างเปล่านัลลาบอร์ (Nullabor)


7. ทะเลทรายปาตาโกเนีย (Patagonia Desert)





ที่ตั้ง : ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ในเขตที่ราบสูงปาตาโกเนีย ประเทศอาร์เจนติน่า และชิลี
พื้นที่รวมทั้งหมด : 670,000 ตารางกิโลเมตร (260,000 ตารางไมล์)


6. ทะเลทรายคาลาฮารี (Kalahari Desert)





ที่ตั้ง : ทางตอนกลางและใต้ของทวีปแอฟริกา ในเขตประเทศนามิเบีย บอตสวาน่า ซิมบับเว แซมเบีย แองโกล่า แอฟริกาใต้ และส่วนหนึ่งของดีอาร์คองโก
พื้นที่รวมทั้งหมด : 900,000 ตารางกิโลเมตร (360,000 ตารางไมล์)


5. ทะเลทรายโกบี (Gobi Desert)





ที่ตั้ง : ตอนกลางของทวีปเอเชีย ในเขตประเทศจีน และมองโกเลีย
พื้นที่รวมทั้งหมด : 1,300,000 ตารางกิโลเมตร (500,000 ตารางไมล์)


4. ทะเลทรายอาหรับ (Arabian Desert)





ที่ตั้ง : ภูมิภาคตะวันออกกลาง ในเขตประเทศซาอุดิอารเบีย โอมาน เยเมน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ คูเวต จอร์แดน และอิรัก
พื้นที่รวมทั้งหมด : 2,330,000 ตารางกิโลเมตร (900,000 ตารางไมล์)
รวมถึงพื้นที่ รุบ อัล-คาลี (พื้นที่อันว่างเปล่า)ด้วย


3. ทะเลทรายซาฮาร่า (Sahara Desert)





ที่ตั้ง : ในเขตทวีปแอฟริกาเหนือ ประเทศอียิปต์ ซูดาน ชาด ลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรีย ไนเจอร์ มาลี มอริเตเนีย ซาฮาร่าตะวันตก และโมร็อคโค
พื้นที่ทั้งหมด : 9,100,000+ ตารางกิโลเมตร (3,320,000+ ตารางไมล์)


ป.ล. ทะเลทรายซาฮารา เป็นทะเลทรายแบบร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ยังเล็กกว่าทะเลทรายแบบหนาว ที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เป็นอันดับสาม เหตุที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เรียกได้ว่าเป็นทะเลทรายนั้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่ได้รับน้ำฝนน้อยเช่นกัน

2. อาร์กติก (Arctic)





ที่ตั้ง : ขั้วโลกเหนือ
พื้นที่ทั้งหมด : 13,700,000 ตารางกิโลเมตร (5,300,000 ตารางไมล์)
ป.ล. เป็นทะเลทรายแบบเมืองหนาว


1. แอนตาร์คติกา (Antarctica)






ธงชาติของแอนตาร์คติกา

ที่ตั้ง : ขั้วโลกใต้
พื้นที่รวมทั้งหมด : 13,829,430 ตารางกิโลเมตร (5,339,573 ตารางไมล์)


Credit :
http://th.wikipedia.org/wiki/Desert


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 24,484 Today: 6 PageView/Month: 39

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...